วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (อังกฤษ: Erectile dysfunction) เป็นภาวะอาการทางกายภาพที่อวัยวะเพศชาย ไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวได้แต่ไม่เพียงพอที่จะร่วมกิจกรรมทางเพศ กับคู่สัมพันธ์ได้จนบรรลุถึงจุดสุดยอด โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุแต่ส่วนใหญ่เป็นสาเหตุทางกาย เช่น โรคเบาหวาน[1]
อาการและอาการแสดง[แก้]
ผู้ป่วยส่วนใหญ่บ่นเกี่ยวกับการหดตัวของอวัยวะเพศหรืออวัยวะเพศมีขนาดเล็กลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในบางครั้ง เกิดขึ้นทั้งสองอย่าง[5] อาการนี้มักจะเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายชั่วโมง ถึงแม้ว่าระยะเวลาสามารถเกิดขึ้นได้นานถึงสองวัน[6] ยังมีกรณีที่อาการของโรคจู๋เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายปีซึ่งอาจเป็นอาการเรื้อรังและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง[4] นอกจากการหดตัวแล้ว อาการแสดงอื่นยังรวมไปถึงความเข้าใจว่าองคชาตของตนเปลี่ยนแปลงรูปร่างไป การสูญเสียการแข็งตัวของกล้ามเนื้อองคชาต และในบางกรณี ที่ผู้ป่วยไม่เข้าใจว่าตนมีอวัยวะเพศหดเล็กลง แต่กล่าวว่ามีความรู้สึกสัมผัสเพี้ยนทางเพศหรือมีความเสื่อมถอยทางเพศด้วย[7]
โรคประสาทกังวลนี้ยังประกอบด้วยความคิดกลัวว่าตนอาจเสียชีวิตในไม่ช้า การสลายตัวขององคชาตและการสูญเสียพลังทางเพศ[4] ความเข้าใจว่าตนอาจเสียชีวิตได้เนื่องจากการหดตัวของอวัยวะเพศและรับรู้ว่ามีการหลั่งน้ำอสุจิออกมามากผิดปกตินี้มีความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับความเชื่อจีนโบราณอย่างแรงกล้า ดังที่ได้แสดงโดยข้อเท็จจริงที่ว่าโดยทั่วไปแล้ว ชาวเอเชียที่เชื่อว่าอวัยวะเพศของตนหดเล็กลงนั้นเชื่อว่าสภาวะดังกล่าวเป็นเรื่องถึงชีวิต ไม่เหมือนกับชาวตะวันตกส่วนใหญ่[4][8] แนวคิดอื่น ๆ ได้แก่ การหดตัวของอวัยวะในช่องท้อง การเปลี่ยนเพศเป็นหญิงหรือขันที การเกิดอันตรายทางกายโดยไม่เฉพาะเจาะจง การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ การเป็นหมัน การทำให้เกิดอาการบ้า อาการผีเข้า และความรู้สึกว่าตนถูกมนต์สะกด[4]
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการวิตกกังวลอย่างมากและสมาชิกครอบครัวอาจหันไปพึ่งวิธีการทางกายภาพเพื่อป้องกันการหดตัวขององคชาตที่เชื่อกันนั้น ชายอาจใช้การดึงองคชาตด้วยตนเองหรือใช้เครื่องจักร โดยใช้วงเชือกหรือเครื่องหนีบบางประเภท[9] ในลักษณะคล้ายกัน หญิงอาจคลำหน้าอกของตน ดึงหัวนม หรือแม้กระทั่งเสียบหมุดเหล็กเข้าไปในหัวนม[8] ความเจ็บปวดทางกายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสามารถถูกพิจารณาได้ว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนของอาการดังกล่าว[4]
สาเหตุ[แก้]
ความขัดแย้งจิตใจ-เพศ ปัจจัยส่วนบุคคล และความเชื่อทางวัฒนธรรมได้รับการพิจารณาว่ามีส่วนสำคัญที่เป็นสาเหตุของโรคจู๋[3] ประวัติการปรับตัวทางเพศของผู้ป่วยที่ไม่ใช่ชาวจีนมักจะมีความโดดเด่นอยู่บ่อยครั้ง อย่างเช่น ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศก่อนเกิดโรค พฤติกรรมสำส่อนทางเพศ ความรู้สึกผิดเกี่ยวกับการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองและภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ[10] 
cradit by จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี